หนึ่งในอุตสาหกรรมที่ AI กำลังเฉิดฉายและเข้ามามีบทบาทสำคัญคือ “วงการแพทย์”
ปัจจุบัน AI ได้กลายเป็นผู้ช่วยสำคัญสำหรับแพทย์ ตั้งแต่การวินิจฉัยโรค การวางแผนการรักษา ไปจนถึงการบริหารจัดการข้อมูลผู้ป่วย จากรายงานของ Accenture AI พบว่า การนำ AI เข้ามาใช้งานทางการแพทย์ในอเมริกา จะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าพันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2026 และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์มากขึ้นด้วย
ความก้าวหน้าของ AI ในวงการแพทย์ นับเป็นก้าวสำคัญที่นำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้คนทั่วโลก AI ไม่เพียงแต่ช่วยแพทย์ในการรักษาโรคต่าง ๆ แต่ยังเปิดโอกาสให้นักวิจัยและนักพัฒนาสามารถคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะนำพาเราสู่ยุคใหม่แห่งสุขภาพดิจิทัลอย่างยั่งยืนได้อีกด้วย
AI มีบทบาทสำคัญในวงการแพทย์อย่างไร?
การนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในทางการแพทย์ไม่เพียงแต่ช่วยในการวินิจฉัยโรคด้วยความแม่นยำที่สูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยให้แพทย์ทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากข้อมูลของ American Medical Association AI สามารถช่วยกรองและวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์ได้ในเวลาเพียงเสี้ยววินาที ซึ่งช่วยลดความผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ ทั้งยังช่วยเพิ่มความแม่นยำในการรักษา
1. AI ช่วยวินิจฉัยโรค ตรวจเจอมะเร็งได้ใน 0.02 วินาที
AI ช่วยในการตรวจหามะเร็งได้ภายใน 0.02 วินาที ยืนยันข้อมูลจากสถาบันวิจัยมะเร็ง (Institute of Cancer Research) ของกองทุนมูลนิธิรอยัลมาร์สเดน เอ็นเอชเอส (Royal Marsden NHS Foundation Trust) แห่งสหราชอาณาจักรแสดงให้เห็นว่า “AI ช่วยตรวจชิ้นเนื้อและวิเคราะห์ถึงการลุกลามของมะเร็งบางชนิดได้แม่นยำเกือบสองเท่า” แน่นอนว่าการวิเคราะห์ที่ตรงจุด ย่อมส่งผลให้เกิดการรักษาที่แตกต่างกัน และท้ายที่สุดคือการช่วยชีวิตคนได้มากขึ้น
นอกจากนี้ AI ยังถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์ภาพแมมโมแกรม (Mammography) เพื่อคัดกรองมะเร็งเต้านมระยะแรก โดยสมาคมรังสีวิทยาแห่งอเมริกาเหนือ (Radiological Society of North America) ออกมาเปิดเผยตัวเลขความแม่นยำของ AI ในการตรวจพบมะเร็งเต้านมอยู่ที่ 94.5% ซึ่งสูงกว่าแพทย์ที่ (ค่าเฉลี่ย 88%) ทั้งยังมีความไวในการตรวจพบมะเร็งเต้านมที่เป็นก้อนมากกว่านักรังสี โดยมีอัตราที่ 90% และ 78%
โรคปอดอักเสบ : จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน Nature Medicine พบว่า AI สามารถตรวจจับโรคปอดผิดปกติได้ (เกือบ) เทียบเคียงกับแพทย์เฉพาะทาง แม่นยำถึง 92%
โรคหัวใจและหลอดเลือด : AI สามารถวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยอย่างละเอียด เพื่อคาดการณ์ความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ดีขึ้น อ้างอิงจาก The Lancet Digital Health พบว่า AI สามารถทำนายการเกิดโรคหัวใจก่อนแพทย์ด้วยความแม่นยำที่ 85%
AI วินิจฉัยโรคหายาก : AI ช่วยให้สามารถวินิจฉัยโรคหายากและแบบเฉพาะตัวได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมากเกือบ 30%
AI วิเคราะห์ภาวะซึมเศร้า : World Psychiatry พบว่า AI ระบุว่าผู้ป่วยมีภาวะซึมเศร้าหรือไม่ จากข้อมูลจากการสนทนาและพฤติกรรม แม่นยำถึง 80%
2. AI ช่วยวางแผนการรักษา
ไม่ใช่แค่ช่วยวินิจฉัยโรคเท่านั้น AI ยังช่วยแพทย์วางแผนการรักษาสำหรับผู้ป่วยแต่ละคนได้แบบเจาะจง ด้วยการให้ AI วิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรมของผู้ป่วย เพื่อค้นหาการรักษาที่เหมาะสมสูงสุด โดยงานวิจัยของศูนย์มะเร็ง Memorial Sloan Kettering Cancer Center พบว่า AI ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลจากจีโนมของผู้ป่วยมะเร็ง และให้คำแนะนำในการปรับแต่งการรักษาให้เหมาะสม (Precision Medicine) มักใช้กับโรคร้ายแรงและมีการรักษาที่เจาะจงเฉพาะคน เช่น โรคมะเร็ง โรคหอบหืด หรือ โรคเบาหวาน
วางแผนและตรวจสอบผู้ป่วยในโรงพยาบาล : AI ช่วยติดตามและประเมินผู้ป่วยเรียลไทม์ เพื่อให้แพทย์ทราบถึงอาการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น และปรับการรักษาได้ทันเวลา
วางแผนการผ่าตัดสมอง : AI ถูกใช้ในการวิเคราะห์ภาพถ่ายและข้อมูลจาก MRI เพื่อวางแผนการผ่าตัดและระบุตำแหน่งที่แน่นอน ช่วยเพิ่มความแม่นยำและลดความเสี่ยงในการผ่าตัดสมอง ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสฟื้นตัวได้ดียิ่งขึ้น
3. AI ช่วยวิจัยและพัฒนายา
ปัจจุบัน AI มีบทบาทสำคัญในการค้นคว้าและพัฒนายามากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกระบวนการค้นหาสารที่มีศักยภาพในการรักษาโรคใหม่ ๆ ผ่านการจำลองโมเลกุล (Molecular Modeling) และการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Aata Analytics) ตามรายงานของ McKinsey Global Institute รายงานว่า Machine Learning และ AI น่าจะสร้างมูลค่าเพิ่มในอุตสาหกรรมยาและระบบการดูแลสุขภาพของสหรัฐฯ มากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี
ระบุเป้าหมายทางชีวภาพ (Target Identification) บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพของอเมริกา Atomwise ใช้ AI วิเคราะห์โครงสร้างของโปรตีนและระบุว่ามีโมเลกุลใดที่สามารถเชื่อมกับโปรตีนเหล่านั้นได้ ลดเวลาค้นหายาได้เร็วกว่าวิธีเดิมถึง 100 เท่า
สร้างและปรับปรุงยา (Drug Design and Optimization) : ปี 2019 สถาบันชีวสารสนเทศและชีววิทยาทางคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NCBI) รายงานว่า AI ของ Insilico Medicine สามารถทำนายโครงสร้างโมเลกุลที่มีประสิทธิภาพสูงในการรักษาโรค Fibrosis ภายในเวลาเพียง 46 วัน
ทำนายผลข้างเคียงของยา (Predicting Side Effects) : งานวิจัยใน Journal of Chemical Information and Modeling ในปี 2018 แสดงให้เห็นว่า AIทำนายผลข้างเคียงของยาได้อย่างแม่นยำถึง 85%
4. AI ลดงานเอกสารให้หมอ จัดการงานเอกสาร
ศูนย์การแพทย์เพื่อประโยชน์ทางวิชาการไม่แสวงผลกำไรในสหรัฐ Mayo Clinic รายงานว่าแพทย์ในสหรัฐอเมริกามักจะใช้เวลาเฉลี่ยถึง 49.2% ของเวลาการทำงานทั้งวันไปกับการจัดการเอกสารและงานบริหาร รวมถึงการบันทึกข้อมูลในระบบบันทึกทางการแพทย์อิเล็กทรอนิกส์ (EHRs) ซึ่งถือเป็นภาระงานที่หนักและใช้เวลาเยอะมาก
การได้ AI มาช่วยแบ่งเบาภาระงานส่วนนี้ จะเพิ่มเวลาให้บุคลากรทางการแพทย์เอาใจใส่ผู้ป่วยได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจากรายงานคาดการณ์ว่าแพทย์จะใช้เวลากับผู้ป่วยได้มากขึ้นเกือบ 20 % ส่วนพยาบาลจะใช้เวลากับผู้ป่วยได้ราว 8 % หากภาระงานธุรการบางส่วนลดลง
“PresScribe” AI ผู้ช่วยหมออัจฉริยะ
ล่าสุด Looloo Technology ได้รับการสนับสนุนจาก Microsoft Founders Hub และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) เปิดตัวแอปพลิเคชัน “PresScribe” AI ผู้ช่วยหมออัจฉริยะ ที่จะช่วยสรุปบทสนทนาระหว่างหมอกับคนไข้ได้แบบเรียลไทม์ เพื่อเป็นบันทึกทางการแพทย์อัตโนมัติ นอกจากนี้ PresScribe ยังมาพร้อมจุดแข็งสำคัญคือการ “รองรับภาษาไทยได้ในระดับเชี่ยวชาญ”
ที่สำคัญเทคโนโลยี AI PresScribe จะช่วยลดเวลาการทำงานเอกสารของแพทย์ ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 3 ของชั่วโมงการทำงานของแพทย์ เพราะเราต้องการ “คืนเวลาให้หมอ ได้ทำหน้าที่หมอ” โดยมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ ลดภาระงานด้านเอกสารที่ไม่จำเป็น นำไปสู่การเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์สำหรับประชาชนในวงกว้าง
- ลดงานเอกสารประหยัดเวลา 40% ของชั่วโมงการทำงาน
- เพิ่มการปฏิสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับคนไข้
- ลดการ Burnout ของแพทย์
ข้อกังวลและความท้าทายการใช้ AI ทางการแพทย์
เชื่อว่ายังคงถกเถียงกันอยู่ทุกวงการที่นำ AI ไปใช้ ทางการแพทย์เองก็เช่นกัน มีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ ด้วยการพยายามพัฒนาแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม สังเกตได้ว่าหลาย ๆ องค์กรเริ่มออกแนวปฏิบัติการใช้ AI อย่างถูกต้อง ปลอดภัย เชื่อถือได้ เท่าเทียมและมีจริยธรรม
เมื่อปีที่แล้ว องค์การอนามัยโลกได้แนะนำแนวปฏิบัติใหม่ สำหรับการใช้ AI ให้เป็นไปอย่างมีจริยธรรม และไม่ลิดรอนสิทธิมนุษยชน หรือสถาบันการแพทย์แห่งชาติแห่งสหรัฐอเมริกา พยายามสร้างกรอบการทำงานเพื่อให้แน่ใจว่า AI ที่ใช้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การแพทย์และวิทยาศาสตร์ ดำเนินการได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย เชื่อถือได้ เสมอภาค รวมถึงมีจริยธรรมในการให้บริการ
การใช้ AI วิเคราะห์เพียงอย่างเดียว คงไม่สามารถให้คำตอบที่เหมาะสมให้แก่ผู้ป่วยได้ ยกตัวอย่างเช่น AI อาจจะมองว่าการรักษาด้วยวิธีนี้จะทำให้ผู้ป่วยหายได้ในระยะเวลารวดเร็ว แต่เป็นการรักษาที่ใช้ค่าใช้จ่ายสูง ผู้ป่วยเองที่ไม่ได้มีทุนทรัพย์มาก อาจจะเลือกปฏิเสธการรักษาไปเลย อย่าลืมว่า AI จะไม่พิจารณาถึงข้อจำกัดที่ละเอียดอ่อน ท้ายที่สุดยังคงต้องใช้บุคลากรทางการแพทย์เข้ามาช่วยคิดและตัดสินใจ เพื่อให้คำแนะนำผู้ป่วยแต่ละคนได้อย่างเหมาะสมที่สุด
แหล่งอ้างอิง
—————————————–
Looloo Technology is a leading AI consulting company, renowned for delivering cutting-edge and customized AI and Data Analytics solutions, with expertise in predictive analytics, natural language processing (NLP), intelligent document processing (IDP), and automatic speech recognition (ASR), Our application of design thinking methodology ensures a deep understanding of our clients, complemented by a strategic consulting approach to identify areas for maximal impact. Emphasizing rigorous user testing, we fine-tune our solutions to precisely meet the users needs.
Our team is a collective of exceptional individuals with global experience handpicked from top institutions. Their relentless pursuit of excellence and commitment to innovation is what sets us apart and help bring our clients substantial growth and profitability.
🌐 Website : www.loolootech.com
📱 Facebook : Looloo Technology
📸 Instagram : loolootech
TikTok: @loolootech