ปัจจุบันประเทศไทยยังคงเผชิญกับปัญหาการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่ไม่เท่าเทียมกัน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข พบว่ามีเด็กไทยกว่า 1 ล้านคนที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพและพัฒนาการในระยะยาว
ในยุคดิจิทัลนี้ เทคโนโลยี Telemedicine คือเครื่องมือสำคัญที่จะเข้ามาปฏิวัติวงการแพทย์และสาธารณสุข ช่วยลดช่องว่างในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ โดยเฉพาะสำหรับเด็กในพื้นที่ห่างไกล ผู้ปกครองสามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้โดยตรงผ่านระบบออนไลน์ ไม่จำเป็นต้องเดินทางไกล หรือค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตที่อาจไม่น่าเชื่อถือ
เจาะลึก! 4 เทคโนโลยีจาก Telemedicine ยกระดับวงการแพทย์
การเข้ามาของเทคโนโลยี Telemedicine หรือการแพทย์ทางไกลแบบออนไลน์ กลายเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่มีศักยภาพในการช่วยแก้ปัญหาสุขภาพเด็กในยุคปัจจุบัน โดยเทคโนโลยีนี้จะช่วยให้เด็กเข้าถึงการรักษาและคำปรึกษาทางการแพทย์ได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ห่างไกล หรือมีข้อจำกัดด้านการเดินทาง
1.Telemedicine : ปรึกษาหมอออนไลน์ ผ่านแชตหรือวิดีโอคอล
เทคโนโลยี Telemedicine ช่วยให้ผู้ปกครองสามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้โดยตรง ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีความปลอดภัยและน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ยังช่วยให้กุมารแพทย์หนึ่งคน ดูแลรักษาเด็กได้มากขึ้น ลดภาระการเดินทางทั้งของแพทย์และผู้ปกครอง เพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์มากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล
ข้อมูลจาก Journal of Telemedicine and Telecare (2022) พบว่า พ่อแม่ส่วนใหญ่พึงพอใจกับการปรึกษาหมอเด็กออนไลน์สูงถึง 94% และช่วยลดค่าใช้จ่าย เฉลี่ย 245 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อการไปหาหมอที่โรงพยาบาลหนึ่งครั้ง
2. Telemedicine : ติดตามอาการเด็กได้แบบเรียลไทม์
Telemedicine ไม่ใช่แค่เรื่องของการปรึกษาหมอออนไลน์ได้เท่านั้น แต่ยังช่วยให้แพทย์และเจ้าหน้าที่ทำงานสะดวกขึ้น สามารถติดตามอาการป่วยของเด็กได้เรียลไทม์ โดยที่ตัวเด็กเองไม่ต้องอยู่ที่โรงพยาบาล เป็น Tool ที่เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา ลดช่องว่างของความไม่เทียมทางการแพทย์
ยกตัวอย่างการใช้ Telemedicine ในเคสของเด็กที่ป่วยเป็นโรคหอบหืดหรือโรคหัวใจ ด้วยการ “ติดตามสัญญาณชีพจากระยะไกล” ด้วยการส่งอัตราการเต้นของหัวใจและระดับออกซิเจนในเลือดออนไลน์ไปยังแพทย์ เพื่อแบบประเมินแบบเรียลไทม์ ซึ่งจากการศึกษาในวารสาร Pediatrics (2021) พบว่าการใช้อุปกรณ์ติดตามอาการทางไกลในเด็กโรคหอบหืดช่วยลดการเข้ารักษาในห้องฉุกเฉินลงได้ 31% และลดการนอนโรงพยาบาลลง 24% เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ที่สำคัญช่วยลดความเครียดและค่าใช้จ่ายในการรักษาของผู้ปกครอง ขณะเดียวกันก็ทำให้แพทย์ทำงานสะดวกขึ้น วางแผนการรักษาได้แม่นยำกว่าเดิม
3. Telemedicine : การวินิจฉัยโรคเบื้องต้นด้วย AI Chatbot
ถึงวันนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญญาประดิษฐ์กำลังก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกอุตสาหกรรม และวงการแพทย์ก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการดูแลสุขภาพเด็ก ตัวอย่างที่โดดเด่นคือการใช้ AI ในการวิเคราะห์อาการและสอบถามประวัติผู้ป่วยเบื้องต้น ซึ่งช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น งานวิจัยจาก Stanford University ได้ยืนยันถึงความน่าเชื่อถือของ AI ในฐานะผู้ช่วยแพทย์อัจฉริยะ ไว้ได้น่าสนใจว่า สามารถตรวจจับโรคผิวหนังในเด็กได้แม่นยำถึง 91% เทียบเท่ากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
นอกจากนี้ AI ยังมีบทบาทสำคัญในการประเมินความเสี่ยงของโรคที่ซับซ้อน เช่น ภาวะออทิสติกในเด็ก โดยสามารถวิเคราะห์ข้อมูลจากภาพถ่าย MRI เพื่อศึกษาโครงสร้างและการทำงานของสมองได้อย่างละเอียด โดยผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า AI สามารถประเมินโอกาสการเกิดออทิสติกได้แม่นยำสูงถึง 94% ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญในการตรวจพบและวินิจฉัยเบื้องต้นได้อย่างรวดเร็ว
4. Telemedicine : ระบบนัดหมายและติดตามการรักษาอัตโนมัติ
ระบบนี้ช่วยอำนวยความสะดวกในการดูแลสุขภาพเด็กอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ โดยทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยส่วนตัวในการจัดการด้านสุขภาพ เมื่อถึงเวลาระบบจะส่งการแจ้งเตือนเกี่ยวกับการนัดหมายต่าง ๆ เช่น การตรวจสุขภาพประจำปี การฉีดวัคซีน หรือการพบแพทย์ตามนัด ผ่านทางข้อความ อีเมล หรือการแจ้งเตือนบนแอปพลิเคชัน
นอกจากนี้ ระบบยังช่วยติดตามการรักษาโดยส่งคำเตือนเมื่อถึงเวลารับประทานยา หรือทำกิจกรรมตามแผนการรักษา เช่น การวัดระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับเด็กเบาหวาน หรือการบันทึกอาการสำหรับเด็กที่มีโรคเรื้อรัง ข้อมูลเหล่านี้จะถูกรวบรวมและวิเคราะห์เพื่อสร้างรายงานสรุปสำหรับแพทย์ ช่วยให้การติดตามอาการและปรับแผนการรักษาทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ขณะเดียวกันช่วยลดภาระของผู้ปกครองในการจดจำตารางนัดหมายให้การดูแลสุขภาพเด็กเป็นเรื่องที่จัดการได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้เด็กเองก็ได้รับการดูแลที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เป็นไปตามแผนการรักษาของแพทย์
“หมอคู่คิดส์” แอปฯ หมอเด็กออนไลน์ เจ้าแรกเจ้าเดียวของไทย
หมอคู่คิดส์ แอปฯ หมอเด็กออนไลน์ บริษัทในเครือ Looloo Health ภายใต้บริษัท Looloo Technology นำเอาเทคโนโลยี Telemed เข้ามาเพิ่มโอกาสให้เด็กไทยทุกคนให้เข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่ดีได้อย่างเท่าเทียม ด้วยการพัฒนา “หมอคู่คิดส์” แอปฯ หมอเด็กออนไลน์เจ้าแรกของไทย ที่รวมเอาทีมแพทย์และพยาบาลจาก รพ.ชั้นนำของไทย เข้ามาช่วยตอบคำถามเรื่องเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนโต ตลอดทั้งกลางวัน กลางคืน
แอปพลิเคชันที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่ ด้วยบริการครอบคลุมทุกด้านของการเลี้ยงดูลูกน้อย ตั้งแต่แรกเกิดจนโต ไม่ว่าจะเป็นคำถามเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วย วิธีการเลี้ยงดู พัฒนาการเด็ก หรือจิตวิทยาเด็ก คุณพ่อคุณแม่สามารถปรึกษาแพทย์และพยาบาลจากโรงพยาบาลชั้นนำได้ตลอดทั้งกลางวันและกลางวัน ผ่านแชตหรือวิดีโอคอลในแอปพลิเคชัน
นอกจากนี้ ยังมีบริการพิเศษสำหรับคุณแม่หลังคลอด ด้วยการเช็กสุขภาพใจกับนักจิตวิทยา เพื่อดูแลสุขภาพจิตของคุณแม่อย่างใกล้ชิด พร้อมด้วยฟีเจอร์ฟรี! ที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น ไดอารีออนไลน์สำหรับบันทึกพัฒนาการและการเจริญเติบโตของลูก รวมถึงการบันทึกกิจวัตรประจำวันและการฉีดวัคซีน
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้ในการเลี้ยงลูก หมอคู่คิดส์ได้รวบรวมคลิปวิดีโอให้ความรู้จากหมอเด็กชั้นนำหลายท่าน อาทิ หมอเสาวภาจากเพจ “เลี้ยงลูกเชิงบวก”, หมอแอมจากเพจ “เรื่องเด็ก by หมอแอม” และหมอจอยกับหมออมยิ้มจาก TikTok ปิดท้ายด้วยบริการช้อปปิ้งสินค้าแม่และเด็กคุณภาพดี ที่ผ่านการคัดสรรโดยแพทย์จากโรงพยาบาลชั้นนำ เพื่อความมั่นใจของคุณพ่อคุณแม่ทุกท่าน
Telemedicine: อนาคตใหม่แห่งการดูแลสุขภาพเด็กไทย
เทคโนโลยี Telemedicine กำลังปฏิวัติวงการแพทย์เด็ก โดยไม่เพียงเพิ่มประสิทธิภาพในการวินิจฉัยและรักษา แต่ยังเปิดโอกาสให้เด็กได้รับการดูแลตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของเด็กและครอบครัวดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ปัจจุบันตลาด Telemedicine สำหรับเด็กกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในตลาดเอเชีย-แปซิฟิกที่น่าจะมีอัตราการเติบโตที่โดดเด่นที่สุด คาดว่ามูลค่าตลาดจะเพิ่มขึ้นจาก 4.04 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2019 เป็น 15.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2026 คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ 21.2% ตามการประเมินของ BIS Research นอกจากนี้ ตลาด Telemedicine ในกลุ่มประเทศสำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย ก็คาดว่าจะเติบโตตามแนวโน้มโลก โดยคาดว่ามูลค่าตลาดในปี 2026 จะอยู่ที่ประมาณ 1,780 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 24.2%
การเติบโตนี้เป็นผลมาจากความต้องการบริการสุขภาพสำหรับเด็กที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะหลังการระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้ผู้คนตระหนักถึงความสะดวกและการเข้าถึงบริการแพทย์ทางไกลมากขึ้น Telemedicine ไม่เพียงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา แต่ยังทำให้การเข้าถึงบริการทางการแพทย์สะดวกขึ้นสำหรับทั้งเด็กและผู้ปกครอง นับเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับการดูแลสุขภาพเด็กในอนาคต
—————————————–
Looloo Technology is a leading AI consulting company, renowned for delivering cutting-edge and customized AI and Data Analytics solutions, with expertise in predictive analytics, natural language processing (NLP), intelligent document processing (IDP), and automatic speech recognition (ASR), Our application of design thinking methodology ensures a deep understanding of our clients, complemented by a strategic consulting approach to identify areas for maximal impact. Emphasizing rigorous user testing, we fine-tune our solutions to precisely meet the users needs.
Our team is a collective of exceptional individuals with global experience handpicked from top institutions. Their relentless pursuit of excellence and commitment to innovation is what sets us apart and help bring our clients substantial growth and profitability.
🌐 Website : www.loolootech.com
📱 Facebook : Looloo Technology
📸 Instagram : loolootech
TikTok: @loolootech