เทคโนโลยีแปลงเสียงพูดเป็นข้อความ Speech-to-Text หรือ ASR (Automatic Speech Recognition) เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญต่ออุตสาหกรรมต่าง ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะในยุคที่ได้ชื่อว่า “Data is the King” เทคโนโลยีนี้จะเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้หลากหลายมิติ ด้วยการช่วยบันทึกและถอดข้อมูลเสียงออกมาเป็นข้อความได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ทำให้การเก็บข้อมูลเป็นระบบมากขึ้น คนทำงานเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกยิ่งขึ้น ลดเวลาการทำงาน ที่สำคัญยังช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทันที
ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าตลาด Speech-to-Text เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะด้วยศักยภาพของระบบที่นำไปประยุกต์ใช้ได้หลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น ประกันภัย สาธารณสุข สื่อและงานบริการลูกค้า ฯลฯ คาดการณ์ว่ามูลค่าตลาด API ของเทคโนโลยีแปลงเสียงเป็นข้อความ ASR จะขยายตัวจาก 3.24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2023 เป็น 3.87 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2024 โดยอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 19.2% Speech-to-Text นับเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่จะช่วยผลักดันการดำเนินธุรกิจให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมีประสิทธิภาพและช่วยให้ธุรกิจของคุณเท่าทันกับความเปลี่ยนแปลง
เสียงสู่ตัวอักษร: 3 อุตสาหกรรมที่ใช้ Speech-to-Text เพิ่มประสิทธิภาพ
Speech-to-Text นับเป็นเทคโนโลยีสำคัญแห่งยุค ที่จะช่วยผลักดันการดำเนินธุรกิจให้ก้าวไปอย่างมีประสิทธิภาพและเท่าทันรับกับความเปลี่ยนแปลง มาดูกันว่าปัจจุบันกลุ่มธุรกิจประกันภัย การแพทย์ สื่อและภาพยนตร์ ซึ่งเป็น 3 กลุ่มธุรกิจหลักที่เริ่มนำเทคโนโลยีแปลงเสียงพูดเป็นข้อความ ASR เข้ามาช่วยยกระดับการทำงาน
การเข้ามาของเทคโนโลยี Speech-to-Text จะช่วยเพิ่มกำไรและประสิทธิภาพให้ธุรกิจดังกล่าวอย่างไรบ้าง?
1.Speech-to-Text : ธุรกิจประกันภัย (Insurance)
เมื่อมีการเข้ามาของเทคโนโลยีแปลงเสียงพูดเป็นข้อความ Speech-to-Text ธุรกิจประกันภัยคือหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับประโยชน์มากเป็นอันดับต้น ๆ เพราะด้วยรูปแบบธุรกิจที่เต็มไปด้วยข้อมูลจำนวนมาก ในแต่ละวันพนักงานหรือตัวแทนขายต้องเจอกับลูกค้าที่เต็มไปด้วยข้อมูลที่แตกต่างในรายละเอียดที่หลากหลาย ดังนั้นการใช้ Speech-to-Text เข้ามาช่วยบันทึกการสนทนาอย่างเป็นระบบ พร้อมแปลงเสียงเป็นข้อความแบบเรียลไทม์ ย่อมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน รวมถึงสร้างความพึงพอใจของลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น
ที่สำคัญ Speech-to-Text ยังช่วยให้บริษัทประกันภัยระบุปัญหาหรือข้อสงสัยของลูกค้าได้เร็วขึ้น ช่วยลดเวลาแก้ไขปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพฝ่ายบริการลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ AI ยังนำเอาข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้มาไปวิเคราะห์และพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์และการตลาด ช่วยให้บริการใหม่ ๆ ที่ออกมาตรงใจลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ซึ่งนำไปสู่ผลลัพธ์เรื่อง “ตัวเลข” ของยอดขายและกำไรที่เพิ่มมากขึ้น
การสำรวจของ Microsoft พบว่า 59% ของบริษัทที่ใช้ Speech-to-Text วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินผลการสนทนา ช่วยให้พนักงานในกลุ่มธุรกิจประกันภัยรับมือกับปัญหาลูกค้าได้ดี และลดเวลาแก้ไขปัญหาลง
ตัวอย่างระบบจัดการข้อมูลเสียง Speech-to-Text by WordSense
2.Speech-to-Text : การแพทย์ (Healthcare)
ปัจจุบันเทคโนโลยี Speech-to-Text กำลังสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงการแพทย์ ด้วยการเข้ามาช่วยพลิกโฉมวงการแพทย์ แปลงบทสนทนาระหว่างแพทย์และผู้ป่วยให้เป็นข้อความได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ เรียกว่าลดภาระงานเอกสารของแพทย์ และลดความผิดพลาดจากการบันทึกเองด้วยมือ ให้แพทย์นำเวลาไปเพิ่มคุณภาพการรักษา ตลอดจนพัฒนาการวินิจฉัยโรคให้แม่นยำยิ่งขึ้น
ความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยี Speech-to-Text ยืนยันจากการศึกษาของ Market Research Future ซึ่งพบว่า 1 ใน 4 ของโรงพยาบาลในสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มนำ Speech-to-Text มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
– ศูนย์การแพทย์เพื่อประโยชน์ทางวิชาการในสหรัฐ (Mayo Clinic) รายงานว่าการใช้ Speech-to-Text ช่วยลดเวลาในการทำเอกสารลงได้ถึง 50%
– แพทย์ที่โรงพยาบาล Cleveland Clinic ในสหรัฐ พบว่าสามารถดูแลผู้ป่วยได้เพิ่มขึ้นอีก 2-3 รายต่อวัน หลังจากนำเทคโนโลยี Speech-to-Text มาใช้
จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่า Speech-to-Text ไม่เพียงแต่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แพทย์เท่านั้น แต่ยังส่งผลดีโดยตรงต่อคุณภาพการรักษาและการดูแลผู้ป่วยอีกด้วย
ตัวอย่างแอปฯ PresScribe by Looloo Technology ใช้บันทึกเสียงสนทนาระหว่างแพทย์และผู้ป่วย ช่วยแปลงเสียงเป็นตัวอักษร
3.Speech-to-Text สื่อและภาพยนตร์ (Media & Movie)
เทคโนโลยี Speech-to-Text กำลังปฏิวัติวงการสื่อและภาพยนตร์ โดยเฉพาะในด้านการผลิตเนื้อหาและเพิ่มขีดความสามารถให้เข้าถึงผู้ชมได้มากขึ้น ด้วยความสามารถในการแปลงเสียงเป็นข้อความได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ จะเห็นได้ว่าการแข่งขันโอลิมปิกครั้งล่าสุด ตลอดการถ่ายทอดสดจะมีคำบรรยาย (Subtitle) เรียลไทม์ในหลาย ๆ ภาษาขึ้นให้เห็นแบบทันทีทันใด นั่นก็เพื่อเพิ่มการเข้าถึงผู้ชมในวงกว้าง รวมถึงช่วยให้กลุ่มผู้ที่มีปัญหาทางการได้ยิน สามารถรับชมกีฬาได้เต็มอรรถรส
เช่นเดียวกันกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ที่เริ่มใช้ Speech-to-Text ทำ Subtitle มากขึ้น (จากรายงานของ The Hollywood Reporter) เนื่องจากมีต้นทุนต่ำกว่าและมีประสิทธิภาพสูงกว่าการทำด้วยมนุษย์ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ต่อให้จะใช้ AI เข้ามาทำ Subtitle แล้ว หลายบริษัทยังคงใช้มนุษย์เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการตรวจสอบและปรับแก้คำบรรยายที่ AI สร้างขึ้นอยู่ดี
การใช้เทคโนโลยี Speech-to-Text ในวงการสื่อและภาพยนตร์ไม่เพียงแต่ช่วยประหยัดเวลาและต้นทุน แต่ยังช่วยให้เนื้อหาสามารถเข้าถึงผู้ชมได้กว้างขวางขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้ผลิตและผู้บริโภคสื่อในยุคดิจิทัลนี้
ความท้าทายของการพัฒนาเทคโนโลยี Speech-to-Text
แม้เทคโนโลยี Speech-to-Text จะก้าวหน้าไปมาก แต่การจะพัฒนาให้สมบูรณ์แบบยังต้องเผชิญความท้าทายหลายประการ ทั้งในด้านภาษาศาสตร์ เทคนิคและการประยุกต์ใช้งานจริง มาดูกันว่ามีปัจจัยอะไรบ้าง ที่นักพัฒนาต้องเผชิญกับการยกระดับประสิทธิภาพเทคโนโลยีนี้
- เสียงรบกวนและคุณภาพเสียง (Noise and Sound Quality)
การทำงานของ Speech-to-Text ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยเสียงรบกวน หรือมีคุณภาพเสียงที่ไม่ดี เช่น เสียงที่มีคนพูดพร้อมกัน เสียงรบกวนจากเครื่องจักร เสียงจราจร ฯลฯ คงเป็นเรื่องยากที่จะจับใจความและได้ยินถูกต้องหมดทุกคำ ดังนั้นการที่ระบบจะถอดเสียงได้ตรงกับเสียงที่ต้องการ จำเป็นต้องพัฒนา AI ให้มีความแม่นยำ แยกเสียงหลักออกจากเสียงรบกวนได้ - การพูดพร้อมกันของหลายคน (Speaker Overlap)
ในสถานการณ์ที่มีคนพูดหลายคนพร้อมกัน หรือในประชุมที่หลายคนสลับกันพูดอย่างรวดเร็วปกติแล้วระบบ Speech-to-Text มักจะพบปัญหาในการแยกเสียงและถอดเสียงว่าใครเป็นผู้พูด แต่ด้วยเทคนิค Diarization ของ Speech-to-Text by WordSense ที่ช่วยแยกแยะเสียงผู้พูดเป็นข้อความได้แบบเรียลไทม์ ว่าใครกำลังพูดในขณะนั้น - ศัพท์เทคนิค (Technical Words)
แต่ละอุตสาหกรรมย่อมมีคำศัพท์เฉพาะ อย่าง การแพทย์ วิศวกรรม กฎหมาย เทคโนโลยี ฯลฯ ซึ่งมักเป็นคำที่ไม่พบในบทสนทนาทั่วไป Speech-to-Text เองจำต้องถูกฝึกฝนด้วยข้อมูลที่ครอบคลุมและเฉพาะทาง ต้องเข้าใจศัพท์เทคนิคเพื่อให้การใช้งานจริงเป็นไปอย่างประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการที่เฉพาะของแต่ละอุตสาหกรรม
ทำไมต้องใช้ Speech-to-Text by WordSense
Speech-to-Text by WordSense เป็นซอฟต์แวร์ AI-Powered ที่ Looloo Technology พัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บข้อมูล โดดเด่นเรื่องการประมวลผลไฟล์เสียงอัตโนมัติ ครอบคลุมทั้งการแปลงเสียงสนทนาของระบบคอลเซนเตอร์ การประชุม หรือบทสนทนาต่าง ๆ ไม่ว่าจะมีเสียงแทรก เสียงผู้พูดหลายคน ก็แปลงออกมาเป็นตัวอักษรได้ รวมถึงเข้าใจศัพท์เทคนิคในแต่ละอุตสาหกรรม
- Speech-to-Text by WordSense คือผู้ให้บริการ Speech-to-Text ภาษาไทยเพียงรายเดียว ที่แยกเสียงและระบุตัวผู้พูดได้แม่นยำ
- ปรับแต่งตามความต้องการของแต่ละบริษัท ให้รองรับปัญหาและการทำงานทุกรูปแบบ ได้แม่นยำและตรงจุด
- พัฒนาระบบด้วยทีมวิศวกร AI ระดับโลก ด้วยประสบการณ์ทำงานกว่า 10 ปีที่ Google และเป็นหนึ่งในทีมพัฒนาระบบ Google Assistance
- เชื่อถือได้กับความปลอดภัยข้อมูลตามมาตรฐานสากล ด้วยการจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ISO27001
- ให้บริการทั้งรูปแบบ On cloud และแบบ On-premise ตามความต้องการของลูกค้า
Speech-to-Text by WordSense ต่างจากเจ้าอื่นอย่างไร?
- เชี่ยวชาญภาษาไทยระดับสูง: Speech-to-Text by WordSense และ Biomedical and Data Lab มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกันพัฒนา “ธนบุเรียนวิสเปอร์ Thonburian Whisper” โมเดล AI แปลงเสียงพูดเป็นข้อความภาษาไทย ที่ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในโมเดลแปลงเสียงภาษาไทยตัวดังที่เป็นพื้นฐาน ให้หลาย ๆ บริษัทในไทยนำไปต่อยอด เพื่อพัฒนาระบบของตัวเอง
- แปลงเสียงเป็นข้อความได้เรียลไทม์: Speech-to-Text ทั่วไป มักใช้เวลาประมวลผลค่อนข้างนาน แต่ Speech-to-Text by WordSense ประมวลผลได้แม่นยำเกือบเทียบเท่า Real-time ประหยัดเวลาในการทำงาน
- เสนอข้อมูลให้พนักงานแนะนำลูกค้าได้เรียลไทม์: Speech-to-Text by WordSense จะจับคำพูดของลูกค้า เพื่อวิเคราะห์หาสินค้าได้ทันทีระหว่างการสนทนา เช่น ลูกค้าต้องการประกันแบบเหมาจ่ายไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี ระบบจะทำการแปลงเสียงเป็นคำคีย์เวิร์ด แล้วค้นหาชนิดของประกันดังกล่าวขึ้นมาที่หน้าจอของเจ้าหน้าที่ ให้แนะนำลูกค้าได้แบบไม่ต้องเสียเวลาค้นหา
สรุปการใช้ Speech-to-Text ในอุตสาหกรรมชั้นนำ
Speech-to-Text เป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพสูงในการปฏิวัติหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการประกันภัย แพทย์ สื่อและภาพยนตร์ ในด้านการแพทย์ เทคโนโลยีนี้ช่วยลดภาระงานเอกสารของแพทย์ ทำให้มีเวลาดูแลผู้ป่วยมากขึ้น และช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนาการวินิจฉัยโรค ส่วนในอุตสาหกรรมสื่อและภาพยนตร์ Speech-to-Text ช่วยในการสร้างคำบรรยายแบบเรียลไทม์ ซึ่งการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ไม่เพียงแต่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน แต่ยังช่วยให้เนื้อหาและบริการต่าง ๆ เข้าถึงและเป็นประโยชน์กับผู้คนได้กว้างมากขึ้นด้วย
—————————————
Looloo Technology is a leading AI consulting company, renowned for delivering cutting-edge and customized AI and Data Analytics solutions, with expertise in predictive analytics, natural language processing (NLP), intelligent document processing (IDP), and automatic speech recognition (ASR), Our application of design thinking methodology ensures a deep understanding of our clients, complemented by a strategic consulting approach to identify areas for maximal impact. Emphasizing rigorous user testing, we fine-tune our solutions to precisely meet the users needs.
Our team is a collective of exceptional individuals with global experience handpicked from top institutions. Their relentless pursuit of excellence and commitment to innovation is what sets us apart and help bring our clients substantial growth and profitability.
🌐 Website : www.loolootech.com
📱 Facebook : Looloo Technology
📸 Instagram : loolootech
TikTok: @loolootech