Skip to content Skip to footer

AI ทางการแพทย์บนเวที World Economic Forum 2024

หนึ่งในความท้าทายทางการแพทย์ยุคปัจจุบัน คือแต่ละองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ต่างมุ่งมั่นพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพของผู้คนให้ดีกว่าเดิม ท่ามกลางปัญหารุมเร้ารอบด้าน ทั้งจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งเป็นปัญหาหลัก บ่อยครั้งที่ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขต้องแบกรับภาระงานที่หนักอึ้ง อย่างการบริหารงานและการตัดสินใจที่ซับซ้อนในวิชาชีพ ส่งผลให้มีเวลาจำกัดสำหรับการดูแลผู้ป่วย นอกจากนี้ความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพยังคงเป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะในประเทศที่มีทรัพยากรจำกัด

ด้วยปัจจัยที่บีบรัดเข้ามาจากหลาย ๆ ด้าน เทคโนโลยีจึงเข้ามาเป็น Solutions สำคัญ ในการช่วยจัดการปัญหาต่าง ๆ ให้เบาบางลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้ามาของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่เข้ามาปฏิวัติวงการแพทย์ได้อย่างยอดเยี่ยม ทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วย ลดความผิดพลาดในการวินิจฉัยโรค ป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดโรคในอนาคต รวมถึงช่วยให้ค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยถูกลงในการดูแลสุขภาพ ให้ทุกคนเข้าถึงการแพทย์ที่ดีได้ง่ายขึ้น

ความท้าทายทางการแพทย์ที่แก้ไขได้ด้วย AI 

แน่นอนว่าในเวทีประชุม World Economic Forum 2024 ที่ผ่านมา นักวิชาการระดับโลก ผู้นำองค์กรต่าง ๆ ทางการแพทย์ มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับ AI ในการแพทย์อย่างกว้างขวาง มาดูกันว่าแต่ละประเทศมี Use case อะไรน่าสนใจบ้าง ถึงตอนนี้ AI ยกระดับการแพทย์โลกไปได้ไกลแค่ไหน?

1. AI ช่วยเพิ่มศักยภาพในการวิเคราะห์โรค

      • AI ตรวจหามะเร็งได้ภายใน 0.02 วินาที

    สถาบันวิจัยมะเร็ง (Institute of Cancer Research) ของกองทุนมูลนิธิรอยัลมาร์สเดน เอ็นเอชเอส (Royal Marsden NHS Foundation Trust) แห่งสหราชอาณาจักรแสดงให้เห็นว่า “AI ช่วยตรวจชิ้นเนื้อและวิเคราะห์ถึงการลุกลามของมะเร็งบางชนิดได้แม่นยำเกือบสองเท่า” แน่นอนว่าการวิเคราะห์ที่ตรงจุด ย่อมส่งผลให้เกิดการรักษาที่แตกต่างกัน และท้ายที่สุดคือการช่วยชีวิตคนได้มากขึ้น

    ขณะเดียวกันบริษัท AI Medical Services (AIM) สตาร์ตอัปสัญชาติญี่ปุ่น ได้ผลิตกล้องเอนโดสโคป (Endoscope) ตรวจหามะเร็งระยะแรก ด้วยการใช้ AI วิเคราะห์วิดีโอและภาพถ่ายจากการส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ของผู้ป่วย เพื่อระบุแนวโน้มมะเร็งในอนาคต โดย AI Model นี้ได้รับการเทรนด้วยวิดีโอความละเอียดสูงกว่า 200,000 รูป รวบรวมจากสถาบันทางการแพทย์กว่า 100 แห่งทั่วญี่ปุ่น

    ที่สำคัญความเจ๋งของ AI ดังกล่าวนี้ ยังสามารถวิเคราะห์ภาพนิ่งและวิดีโอได้แบบเรียลไทม์เพียง 0.02 วินาที! เร็วกว่าแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทั่วไปซึ่งส่วนใหญ่แล้วใช้เวลาเฉลี่ย 4 วินาที นอกจากนี้ปัญญาประดิษฐ์ดังกล่าวยังสามารถระบุได้ถึงการมีและไม่มีเชื้อมะเร็งหรือได้อีกด้วย โดยความแม่นยำสูงสุดอยู่ที่ 94 %

    ถึงแม้ความแม่นยำของ AI จะเป็นเลิศแค่ไหน แต่การวินิจฉัยขั้นสุดท้ายยังคงเป็นความรับผิดชอบของแพทย์ที่เป็นมนุษย์ การเข้ามาของเทคโนโลยีหรือปัญญาประดิษฐ์ เป็นเพียงการทำงานร่วมกันของมนุษย์และ AI เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแพทย์ให้ดียิ่งขึ้น

        • AI ช่วยวินิจฉัยโรคไข้หวัดใหญ่

      นอกจากกล้อง Endoscope ที่ใช้ AI หาสัญญาณมะเร็งแล้ว การแพทย์ของญี่ปุ่นยังใช้ AI ตรวจหาโรคไข้หวัดใหญ่ ด้วยการให้ปัญญาประดิษฐ์วิเคราะห์ข้อมูลจากภาพลำคอกว่า 500,000 ภาพ ประกอบกับการซักถามอาการของคนไข้เพื่อใช้ในการวินิจฉัยว่าเป็นไข้หวัดใหญ่หรือไม่ (เชื้อไข้หวัดใหญ่มักพบตามลำคอ)

      นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์การแพทย์ที่ประมวลผลด้วย AI อย่าง Nodoca ช่วยวิเคราะห์ลำคอ เช็กอุณหภูมิร่างกายร่วมกับอาการของผู้ป่วย เพื่อวินิจฉัยว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ไหม โดยผลลัพธ์ที่ได้จบครบภายในไม่กี่วินาที ที่สำคัญคนไข้ไม่ต้องเจ็บตัว เพราะการตรวจด้วยวิธีนี้ไม่จำเป็นต้องเก็บตัวอย่างจากช่องจมูกผู้ป่วยเหมือนแบบเดิม

         

          • AI ช่วยวินิจฉัยโรคหัวใจ

         เครื่องตรวจโรคหัวใจอัจฉริยะ “Super Stethoscope” ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์แปลงเสียงหัวใจและคลื่นไฟฟ้าให้เป็นระบบดิจิทัล เพียงวางเครื่องนี้บริเวณหน้าอกค้างไว้ 10 วินาที เครื่องจะส่งข้อมูลเข้ามายังระบบว่าผู้ป่วยมีแนวโน้มเป็นโรคหัวใจหรือไม่ โดยเจ้าเครื่องนี้คนไข้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสามารถตรวจได้เองจากที่บ้านได้เลย สะดวกตรงที่ไม่ต้องเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายมาถึงโรงพยาบาล ตอบโจทย์สำหรับการรักษาพยาบาลออนไลน์ในยุคนี้

        2. AI ทำนายความเสี่ยงของโรคในอนาคต

        ด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่ควบคุมไม่ได้ ส่งผลให้การวินิจฉัยในบางครั้งคลาดเคลื่อนไปบ้าง AI จึงเข้ามาเป็นเครื่องมืออุดรอยรั่วดังกล่าว ด้วยการวิเคราะห์ความเสี่ยงของโรคที่อาจจะเกิดขึ้น รวมถึงคาดเดาแนวโน้มที่คน ๆ นั้นจะประสบอุบัติเหตุบางประการได้ ผ่านการทำนายทางเชิงวิทยาศาสตร์จากข้อมูลผู้ป่วย

        ไม่ว่าจะเป็น ประวัติการรักษาทางการแพทย์ ตัวชี้วัดทางพันธุกรรม และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ซึ่ง Data เหล่านี้สามารถสร้างเป็นโปรไฟล์ความเสี่ยงเฉพาะบุคคล เพื่อให้แพทย์วิเคราะห์แบบรายบุคลได้ว่าใครมีความเสี่ยงใดด้านไหน แล้วค่อยแนะนำวิธีการป้องกันหรือพฤติกรรมที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงด้านสุขภาพและลดการเกิดโรคในอนาคตได้

        3. ประหยัดเวลากับงานเอกสารทางการแพทย์ด้วย AI

        วงการแพทย์ของยุโรปมีการประมาณกันว่า แพทย์ใช้เวลาทำงาน 50-50 แบ่งเป็นรักษาผู้ป่วยและงานธุรการอย่างละครึ่ง ดังนั้น การนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยในการจัดการงานเอกสารจึงเป็นประโยชน์อย่างมาก อย่างการเขียนจดหมาย สรุปการประชุม เขียนร่างวิจัย เขียนรายงาน ฯลฯ การได้ AI มาช่วยแบ่งเบาภาระงานส่วนนี้ จะเพิ่มเวลาให้บุคลากรทางการแพทย์เอาใจใส่ผู้ป่วยได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจากรายงานคาดการณ์ว่าแพทย์จะใช้เวลากับผู้ป่วยได้มากขึ้นเกือบ 20 % ส่วนพยาบาลจะใช้เวลากับผู้ป่วยได้ราว 8 % หากภาระงานธุรการบางส่วนลดลง

        4. AI ช่วยให้การพัฒนายาเร็วขึ้น

        นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโตรอนโต  (University of Toronto – U of T) ได้พัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถสร้างโปรตีนที่ไม่มีอยู่ในธรรมชาติโดยใช้การแพร่กระจายแบบกำเนิด ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดียวกับที่อยู่เบื้องหลังแพลตฟอร์มการสร้างภาพ AI ยอดนิยม เช่น Midjourney และ DALL-E ของ OpenAI ช่วยให้การพัฒนายามีประสิทธิภาพ มีความเป็นไปได้และยืดหยุ่นมากขึ้น

        นอกจากนี้ AI ยังทำหน้านี้เป็น Key ลัดทำให้การคิดค้นและพัฒนายาเป็นไปอย่างรวดเร็ว จากการวิเคราะห์ชุดข้อมูลขนาดใหญ่เกี่ยวกับโมเลกุลต่าง ๆ เพื่อคาดการณ์ถึงประสิทธิภาพของตัวยา รวมถึงมองหาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ และความปลอดภัยในการใช้ยาไปจนถึงกำหนดเป้าหมายของใหม่ของยาชนิดนั้น

        5. AI ช่วยลดต้นทุนด้านพลังงานในโรงพยาบาล

        อีกหนึ่งต้นทุน Fix Cost ทางการแพทย์ที่ไม่ควรมองข้าม นั่นก็คือค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคและพลังงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องทำความร้อน เครื่องปรับอากาศ เครื่องฟอกอากาศ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ AI สามารถเข้ามาช่วยจัดการและวางแผนการใช้พลังงานทั้งหมดนั้นให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพได้ ด้วยการติดตั้งเซ็นเซอร์ควบคุมพลังงานทั่วอาคาร เพื่อหาค่าเหมาะสมในการใช้พลังงาน

        ยิ่งเทรนระบบ AI ให้ครอบคลุมมากเท่าไร ระบบก็จะยิ่งเรียนรู้และตัดสินใจล่วงหน้าได้ดี สุดท้ายแล้วอาจจะพบว่าบางพื้นที่เครื่องปรับอากาศไม่ได้จำเป็น เพราะเป็นมุมที่ลมถ่ายเทเย็นสบาย การปรับอะไรเล็ก ๆ น้อยๆ แบบนี้จะช่วยลดต้นทุนการใช้พลังงานได้ ในระยะยาวหากลดสิ่งเหล่านี้ได้อย่างสมดุล จะช่วยให้โรงพยาบาลของคุณลดค่าใช้จ่ายไปได้ 20%

        การเติบโตทางการลงทุนของ AI ในวงการแพทย์

        การประชุม World Economic Forum 2024 ครั้งนี้ ได้คาดการณ์เอาไว้ว่า การลงทุนด้าน AI ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพทั่วโลก จะทำมูลค่าได้ถึง 188 billion U.S. dollar ภายในปี 2573 โดยอัตราการเติบโตต่อปีอยู่ที่ 37% ตั้งแต่ปี 2565-2573 เนื่องด้วยมาจากสองปัญหาหลัก ได้แก่

            1. การขาดแคลนแพทย์ พยาบาลเกือบ 10 ล้านคนทั่วโลกภายในปี 2573
            2. วิกฤติประชากรสูงวัยล้นโลก (Aged Society) ทั่วโลก

          1.  

          นอกจากนี้รายงาน Artificial intelligence Report ของ Stanford ปี 2023 ยังตอกย้ำความปังของให้ AI ว้าวกว่าเดิม โดยระบุว่าปัญญาประดิษฐ์ในด้านการแพทย์และการดูแลสุขภาพ ดึงดูดการลงทุนภาคเอกชนมากที่สุดในปี 2022 ด้วยตัวเลข 6.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สะท้อนให้เห็นว่าเทคโนโลยีขนาดใหญ่กำลังเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพมากขึ้น

          AI กับจริยธรรมทางการแพทย์

          ท็อปปิกนี้เชื่อว่ายังคงถกเถียงกันอยู่ทุกวงการที่นำ AI ไปใช้ ทางการแพทย์เองก็เช่นกัน มีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ ด้วยการพยายามพัฒนาแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม สังเกตได้ว่าหลาย ๆ องค์กรเริ่มออกแนวปฏิบัติการใช้ AI อย่างถูกต้อง ปลอดภัย เชื่อถือได้ เท่าเทียมและมีจริยธรรม

          อย่างเมื่อเดือนตุลาคมปี 2023 องค์การอนามัยโลกได้แนะนำแนวปฏิบัติใหม่ สำหรับการใช้ AI ให้เป็นไปอย่างมีจริยธรรม และไม่ลิดรอนสิทธิมนุษยชน

              • รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดตัวโครงการโรงพยาบาล AI 10 แห่งทั่วประเทศ เพื่อรับมือกับปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ โดยเน้นเรื่องการสร้างฐานข้อมูลข้อมูลทางการแพทย์ที่ปลอดภัยสูง รวมถึงการเก็บข้อมูลทางเวชระเบียนที่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ป่วย รวมถึงใช้ระบบ AI จดจำเสียงในการยืนยันตัวตนเพื่อเข้าถึงข้อมูล – เงินลงทุนโครงการนี้กว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

              • Mayo Clinic ศูนย์การแพทย์เพื่อประโยชน์ทางวิชาการไม่แสวงผลกำไรในสหรัฐ เปิดตัวแพลตฟอร์ม Validate มุ่งเน้นการทำรายงานอคติ ความจำเพาะ และความไวสำหรับโมเดลเกี่ยวกับ AI เพื่อให้นักพัฒนา หรือบุคคลที่นำไปใช้ต่ออย่างบุคลากรทางการแพทย์ มั่นใจได้ว่า Model นี้มีความแม่นยำ เป็นกลาง ถูกต้องและไม่ลำเอียง

                • สถาบันการแพทย์แห่งชาติแห่งสหรัฐอเมริกา พยายามสร้างกรอบการทำงานเพื่อให้แน่ใจว่า AI ที่ใช้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การแพทย์และวิทยาศาสตร์ ดำเนินการได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย เชื่อถือได้ เสมอภาค รวมถึงมีจริยธรรมในการให้บริการ

              ขณะที่ทั่วโลกกำลังวางกรอบให้การใช้ AI เป็นไปอย่างมีจริยธรรม สิ่งหนึ่งที่เด่นชัดขึ้นมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ AI คือเครื่องมือสำคัญทางเทคโนโลยีที่ช่วยลดช่องว่างทางเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ให้มีความเป็นไปได้อย่างไร้ข้อกังขา ด้วยการคงหัวใจหลักทางการแพทย์ไว้เหมือนเดิม คือความพยายามระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์ด้วยกัน ที่หวังให้สุขภาพของทุกคนบนโลกดีขึ้น

              บทสรุป AI ทางการแพทย์ 

              ปฏิเสธไม่ได้ว่าข้อได้เปรียบที่ยอดเยี่ยมของ AI คือสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย ตั้งแต่การวิจัยขั้นพื้นฐาน การทำเอกสาร การหาแนวโน้มของโรค ไปจนถึงการพัฒนายาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึงในการปฏิบัติงานทางคลินิกในชีวิตประจำวัน หากมนุษย์ใช้อย่างถูกต้อง AI ย่อมสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างหาศาลตลอดห่วงโซ่ ทั้งคุณค่าในเรื่องการดูแลสุขภาพคนไข้ได้ดีขึ้นและเม็ดเงินทางเศรษฐกิจที่เฟื่องฟู

              ทว่าการนำ AI เข้าสู่ระบบสุขภาพให้สำเร็จได้นั้น จำต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องหลายด้านในสังคม ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรทางการแพทย์ นักการเมือง นักพัฒนาเทคโนโลยี และผู้ป่วย เพื่อให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ อย่างรอบด้าน พร้อมตอบโจทย์ความต้องการของคนจำนวนมาก และทุกครั้งที่ใช้ AI จำเป็นต้องอยู่บนพื้นฐานของความรับผิดชอบอย่างรอบคอบอยู่เสมอ

              Reference
              https://www.weforum.org/agenda/2024/01/healthcare-ai/            https://www.weforum.org/agenda/2023/12/three-ai-tools-setting-the-stage-for-a-tech-revolution-by-japans-entrepreneurial-doctors/
              https://www.weforum.org/agenda/2022/10/ai-in-healthcare-india-trillion-dollar/      https://www.weforum.org/agenda/2024/01/whats-the-state-of-health-and-healthcare-heres-what-we-learned-in-davos/

              Related news

              เทคโนโลยี AI ยกเครื่อง Telesales ขายประกันผ่านโทรศัพท์ ภายใต้ข้อกำหนด คปภ.

              เทคโนโลยี AI แปลงเสียงเป็นข้อความ (Speech-to-Text) ทางรอดธุรกิจประกันยุคดิจิทัล หลังพบร้องเรียนพุ่ง 300 คดี จากปัญหาพนักงานขายบิดเบือนข้อมูล-ให้ข้อมูลไม่ครบ ช่วยตรวจจับผิดแบบเรียลไทม์ ลดเวลาตรวจสอบจากแสนชั่วโมงเหลือ 15 ชั่วโมง/เดือน พร้อมประหยัดต้นทุน 30% สร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า-คปภ.

              หมอออนไลน์

              เจาะ 4 เทคโนโลยีเพื่อเด็ก สำหรับพ่อแม่ยุคใหม่ ปรึกษาหมอได้ 24 ชม. แม้อยู่ไกลโรงพยาบาล

              ปัญหาการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ของเด็กไทยกว่า 1 ล้านคน กำลังได้รับการแก้ไขด้วยเทคโนโลยี Telemedicine หรือการแพทย์ทางไกล ที่ช่วยให้ผู้ปกครองสามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่านการแชตและวิดีโอคอล พร้อมระบบติดตามอาการแบบเรียลไทม์ ช่วยลดค่าใช้จ่ายและการเดินทาง ขณะที่แพทย์สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการผสานเทคโนโลยี AI และระบบติดตามอัตโนมัติ นับเป็นอนาคตใหม่ของวงการแพทย์เด็กที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด

              Looloo Health

              บางกอก เมดิคอล ซอฟต์แวร์ ใช้ AI “PresScribe” พัฒนาโดย Looloo Health ยกระดับการให้บริการทางการแพทย์ นำร่องในโรงพยาบาล 35 แห่งทั่วประเทศ

              บริษัท บางกอก เมดิคอล ซอฟต์แวร์ จำกัด (BMS) ร่วมกับ Looloo Health โดยใช้เทคโนโลยีของไมโครซอฟท์ นำ AI เสริมศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาล 35 แห่งทั่วประเทศที่ใช้ระบบ BMS-HOSxP และ BMS-HOSxP XE ด้วยบริการ “PresScribe”